เมนู

สติปัฏฐานกถา


[426] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ
เป็นสัมมาสติ เป็นสตสัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึง
ความสิ้นไป เป็นเหตุให้ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของ
คันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ
เป็นธรรมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ
เป็นเทวตานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ
เป็นอุปสมานุสสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ
[427] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ
เป็นสัมมาสติ เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึง
ความสิ้นไป เป็นเหตุให้ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลส จักขายตนะเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น
สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวตานุสสติ เป็น
อานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯ ล ฯ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ
กายายตนะ ฯ ล ฯ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ ฯ ล ฯ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติ
พละ เป็นสัมมาสติ ฯ ล ฯ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[428] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้น
เป็นสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เป็นสติปัฏฐาน และอโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[429] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้น
ไม่เป็นสติ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯ ล ฯ
โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน
แต่อโนตตัปปะนั้นไม่เป็นสติ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[430] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ ?
ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วย
เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน.
[431] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น
ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น
ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า ผัสสปัฏฐาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[432] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น
ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะเวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ เจตนา ฯ ล ฯ
จิตปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตต-
ปัฏฐาน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[433] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วย

สติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[434] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้
บริโภคอมตะ ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้
บริโภคอมตะ
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรมทำให้มาก
ซึ่งกายคตาสติ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[435] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่ง
สัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งโสกะปริเทวะ เพื่อความสาป-
สูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เครื่องออกไปจาก

1. องฺ. เอก. 20/235

ทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐานทั้ง 4 ดังนี้1
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายมรรค หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[436] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย รัตนะ 7 ประการ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง
พระเจ้าจักรพรรดิ 7 ประการเป็นไฉน จักรรัตนะ คือจักรแก้ว
ปรากฏ 1 หัตถิรัตนะ คือช้างแก้ว ปรากฏ 1 อัสสรัตนะคือม้าแก้ว
ปรากฏ 1 มณีรัตนะ คือดวงมณีแล้ว ปรากฏ อิตถีรัตนะ
คือนางแก้ว ปรากฏ 1 คหปฏิรัตนะ คือคหบดีแก้ว ปรากฏ 1
ปริณายกรัตนะ คือขุนพลแก้ว ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รัตนะ 7 ประการ เหล่านี้ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง
พระเจ้าจักรพรรดิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ 7 ประการ ย่อม
ปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
7 ประการ เป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ 1 รัตนะ
คือธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ปรากฏ 1 รัตนะคือวิริยสัมโพชฌงค์

1. ม.ม. 13/132

ปรากฏ 1 รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ 1 รัตนะคือปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ปรากฏ 1 รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ 1 รัตนะ
คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือ
โพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง
พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง
มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ
เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯ ล ฯ เป็น
อิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทีย์ ฯ ล ฯ เป็นพละ ฯ ล ฯ เป็นสัมโพชฌงค์
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
สติปัฏฐานกถา จบ
1. สํ. มหา. 19/505,506

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา


ว่าด้วยสติปัฏฐาน


บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด
ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกาย
เป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ-
ปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺค-
มญฺจ เทสิสฺสามิ
ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
เหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง 4 ดุจลัทธินิกายอันธกะ
ทั้งหลายในขณะนี้. นิกายเหล่านี้ คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะ
และสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้น
ในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้:-
ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลาย
มีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งขึ้น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติ
ทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺ-
ฐานา สติปฏฺฐานา
แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน ถามว่า
ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น. ปัฏฐาน คือสติชื่อว่า